เมื่อไหร่อิ่ม
เมื่อไหร่อิ่ม ที่คนเราอิ่มได้ ก็เพราะมีกลไกที่ทำให้เราอิ่ม ซึ่งมีอยู่ 2 กลไกด้วยกันคือ
1. อิ่มด้วยกลไกจากกระเพาะและลำไส้
กระเพาะคนเรา ไม่ได้เป็นถุงโปร่งๆพองๆ อย่างที่เราเข้าใจกัน แต่มันจะเป็นถุงฟี้บๆ วางอยู่ในช่องท้อง พอทานอาหารเข้าไป อาหารก็จะกองอยู่ตรงปากทางเข้ากระเพาะก่อน พออาหารเข้ามาเรื่อยๆ ก็จะดันกันไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหัวแถวที่เข้ามาก่อนเริ่มไปแตะโดนตรงปลายกระเพาะอาหาร ตรงนั้นแหละจะมีเซลล์พิเศษอยู่ ซึ่งจะหลั่งสารเคมีที่ชื่อ CCK ออกมา
เจ้า CCK ตัวนี้จะไปกระตุ้นสมองให้เรารู้สึกว่า อิ่มแล้ว นี่คือกลไกอิ่มด้วยกลไกจากกระเพาะ แต่สัญญาณอิ่มอันนี้ไม่ค่อยแรงเท่าไหร่
2. อิ่มด้วยฮอร์โมนจากเนื้อเยื่อไขมัน(เซลลูไลท์)
เมื่อ CCK มาเตือนแล้ว แต่ถ้าเรายังกินต่อ ซึ่งกระบวนการดูดซึมอาหารก็เริ่มเกิดขึ้นไปแล้ว สารอาหารจะถูกส่งไปเลี้ยงตามส่วนต่างๆของร่างกาย ส่งไปที่จุดสำคัญๆก่อน แล้วพอครบหมดทุกจุด ก็จะส่งไปสะสมไว้ใช้ในยามขาดแคลน
จุดนี้นี่เองที่จะทำให้อาหารบางส่วนถูกส่งไปที่เนื้อเยื่อไขมัน(เซลลูไลท์) ซึ่งเป็นที่สุดท้ายแล้วที่สมควรจะได้รับแบ่งปันอาหาร พอเซลลูไลท์ได้อาหารปุ๊บก็จะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า Leptin ออกมา แล้วก็จะส่งสัญญาณไปให้สมองรับรู้ว่า อิ่มแล้ว แต่สัญญาณอิ่มอันนี้ค่อนข้างรุนแรง ฉะนั้นเราจะรู้สึกว่าอิ่มเต็มที่มาก แปลว่ากว่าจะรู้สึกแบบนั้นได้ กระเพาะเราก็แน่นมากแล้ว
ดังนั้น ทางที่ดีคือ ควรทานอย่างมีสติ เคี้ยวกลืนให้พิจารณาความรู้สึกว่าอิ่มหรือยัง เพราะเจ้าตัว CCK มันเป็นสัญญาณเตือนที่อ่อนมาก แต่นั่นคือจุดที่เหมาะสมที่สุด ถ้ารอจน Leptin มาเตือน รับรองว่ากระเพาะตุงจนอ้วนแล้ว
ข้อมูลจาก หมอเกาลัด รพ.BNH
กลับหน้าแรก ezygodiet.com