Waist-Hip ratio
Waist to Hip ratio หรือ อัตราส่วนเส้นรอบเอว ต่อเส้นรอบสะโพก เป็นตัวคัดกรองโรคอ้วนอีกวิธีหนึ่ง โดยใช้ตัวแปรเส้นรอบเอว และเส้นรอบสะโพก
นอกเหนือจากการ วัดเส้นรอบเอว เพียงอย่างเดียว โดยพิจารณาร่วมกับ การวัดBMI และเปอร์เซ็นต์ไขมัน
พบว่าการอ้วนรูปร่างแอ๊ปเปิ้ล (Apple Shape ; อ้วนตรงกลาง) มีความเสี่ยงมากกว่า อ้วนรูปร่างลูกแพร (Pear Shape ; อ้วนช่วงล่าง)
่วิธีคำนวณ Waist-Hip ratio
WHR = เส้นรอบเอว / เส้นรอบสะโพก
(วัดหน่วยเป็นเซนติเมตรหรือ เป็นนิ้วก็ได้)
วิธีวัดเส้นรอบเอว และเส้นรอบสะโพก
- ยืนตัวตรง
- วัดในระดับสะดือ หรือส่วนที่กว้างที่สุดของท้อง
- วัดในระดับสะโพก หรือส่วนที่กว้างที่สุดของสะโพกหรือก้น
- วัดแค่ผิว ไม่รัดจนแน่น ถอดเสื้อผ้า หรือ ใส่เสื้อผ้าที่บางๆ
- หายใจปกติ ไม่แขม่วท้อง
โปรแกรมคำนวณ Waist-Hip ratio
การแปลผลของ Waist-Hip ratio
สำหรับ WHO
ผู้ชาย > 0.90
ผู้หญิง > 0.85
สำหรับ NIDDK (The National Institute of Diabetes, Digestive and Kidney Diseases)
ผู้ชาย > 1.0
ผู้หญิง > 0.8
หมายความว่า ถ้า Waist-Hip ratio มากกว่าเกณฑ์ข้างต้น หรืออาจจะร่วมกับ มี BMI > 30 ถือว่าเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุง
อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย
เพิ่มเติม อัตราส่วน เส้นรอบเอว / ส่วนสูง (Waist Height Ratio, WHtR) นอกจากการวัดเส้นรอบเอว และการคำนวณWHRแล้ว ยังมีการคำนวณ อัตราส่วนเส้นรอบเอวต่อส่วนสูง (WHtR) ซึ่งก็เป็นเครื่องมือคัดกรองอีกวิธีหนึ่ง โดยที่ WHtR ไม่ควรเกิน 0.5 หรือหมายความว่า เส้นรอบเอว ไม่ควรเกินครึ่งหนึ่งของส่วนสูง เช่น ส่วนสูง 160 ซม. ควรมีเส้นรอบเอว ไม่เกิน 80 เซนติเมตร (อ้างอิงจาก raipoong.com)