กลยุทธ์ด้านความคิด

 

7 กลยุทธ์ด้านความคิด พิชิตอ้วน

วันนี้สรุป กลยุทธ์ด้านความคิด แบบ simple simple กันเลย  รับรองว่า ไม่ว่าจะสูตรลดความอ้วนไหน ก็ต้องใช้กลยุทธ์ทั้ง 7 นี้

.

1. มองเป้าหมาย

ตั้งใจ มุ่งมั่น กับเป้าหมาย จะทำได้ตลอดลอดฝั่งก็ต้องมองเห็นเป้าหมายทุกๆวัน  เห็นมันบ่อยๆ  จะได้ช่วยเตือนตลอดเวลา

ไม่ว่าจะเป็นคำคม คำเตือน ข้อระวัง ตารางเวลาออกกำลังกาย รายการอาหาร  เป้าหมายรูปร่าง รูปคนหุ่นสวยๆ

ด้วยการติดไว้ในทุกๆที่ที่เรามองเห็นบ่อยๆ จะเป็นตู้เย็น ตู้เสื้อผ้า คอมพิวเคอร์ มือถือ โต๊ะเครื่องแป้ง ปฏิทิน ห้องน้ำ ฯลฯ

.

2. เริ่มจากก้าวเล็กๆ

การล้มเลิกของคนส่วนใหญ่มาจากการที่ก้าวแรกมันกว้างเกินไป ก็ทำให้หกล้มได้  เริ่มจากก้าวเล็กๆสิคะ เดือนละ 1-2 กก. ลดขนมวันละชิ้นก่อน  เริ่มออกกำลังกายด้วยวิธีง่ายๆก่อน  เด็กเกิดใหม่ยังต้องตั้งไข่ให้ได้ก่อนเลย แล้วค่อยเริ่มคลาน ยืน เดิน แล้วค่อยวิ่ง

.

3. หาเพื่อน

เพื่อนร่วมอุดมการณ์ เป็นคนที่เราจะเปิดใจให้ได้ง่าย คนที่มีความชอบ ความคิดคล้ายๆกัน ก็คุยกันง่าย ถ้าอยากเปลี่ยนตัวเองให้ดูดีขึ้น หุ่นดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น  ก็ต้องหาเพื่อนที่เป็นแบบนั้น

ไม่ว่าจะทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค สถานที่ออกกำลังกาย สวนสาธารณะ คนรอบข้าง เพื่อปรึกษา ช่วยแนะนำ และทำให้เราเดินในเส้นทางสุขภาพได้อย่างไม่หลุดวงโคจร

.

4. โฟกัสกับทุกๆย่างก้าว

นิสัยของเราวันนี้ ค่อยๆสั่งสมมาตั้งแต่เด็กทีละนิด  ถ้าอยากจะเปลี่ยนมัน ก็ต้องเปลี่ยนมันทีละนิสัย เปลี่ยนความเคยชินแบบเดิมๆ ให้เป็นความเคยชินที่ดีๆ แล้วเราก็จะได้นิสัยใหม่ที่ดีต่อสุขภาพ

.

5. อย่าหยุดเรียนรู้

ความรู้เรื่องสุขภาพมีมากซะจนเรียนรู้ทั้งชีวิตก็ไม่มีวันหมด ต่อให้รู้หมดแต่ไม่ได้อ่านประจำก็ลืมได้ในไม่ช้าแน่ๆ อ่านแล้วก็อ่านซ้ำอีก ก็เป็นการเตือน และกระตุ้นให้อยากดูแลตัวเองอยู่เรื่อยๆ

ทั้งเรื่องอาหาร อะไรที่ดีต่อสุขภาพ อะไรไม่ดี การออกกำลังกาย ทำอะไรได้บ้าง ท่าไหน  อย่าคิดว่ารู้หมดแล้ว หรืออ่านเฉพาะหัวข้อ แล้วแชร์เลยโดยไม่ได้ทำความเข้าใจ หรืออ่านมันจริงๆ

.

6. สนุก

อะไรก็ได้ที่ทำแล้วเรารู้สึกสนุก enjoy ไปกับสิ่งที่เราทำ (ที่ดีต่อสุขภาพด้วยนะ)  ถ้าอะไรที่ทำแล้วรู้สึกขัด รู้สึกไม่สนุก เราก็ทำได้ไม่นานก็เลิกแน่ๆ

.

7. เขียน

การเขียนเป็นบันทึกช่วยจำที่ดี  ก่อนเขียนเราก็ต้องคิดก่อนถึงเขียนได้ มันเลยทำให้เราได้รู้ความคิดของเราจริงๆ  ได้ระบายในสิ่งที่คิดออกมา  แล้วจะแปลกใจเมื่อกลับมาอ่านในแต่ละช่วงเวลา

ที่สำคัญคือมันเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บอกว่าเราได้ทำ หรือไม่ได้ทำอะไรเมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ได้  จะเขียนใส่สมุดที่เป็นกระดาษ ระบายสี วาดการ์ตูน หรือพิมพ์ในคอมฯ มือถือ ปฏิทิน ก็แล้วแต่ความชอบ แต่ต้องเขียน

.

กลับหน้าแรก

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.