อย่าเป็นจอมเขมือบ
คุณเป็นจอมเขมือบอยู่รึป่าว?
บางคนอยากผอมแต่เข้าข่ายเป็นจอมเขมือบ คือสวาปามมากกว่าปกติ ถ้าอายุยังน้อยก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ายังเป็นจอมเขมือบเหมือนเดิม แล้วอายุมากขึ้น คุณเดือดร้อนแน่นอน ไม่ใช่ว่าทุกคนจะไม่เคยกินเยอะ แต่คำว่าจอมเขมือบ เป็นพฤติกรรมการกิน ที่ผิดปกติอย่างรุนแรง และเป็นศัตรูของคนอยากผอมขั้นร้ายแรง
ลองตรวจสอบพฤติกรรมเหล่านี้ หากตรงอย่างน้อย 3 ข้อ คุณอาจเป็นจอมเขมือบได้
- กินเร็วกว่าปกติมาก
- กินจนรู้สึกอิ่มหรือกว่าจะรู้ตัวว่าอิ่มก็รู้สึกอึดอัด
- กินอาหารปริมาณมากๆ ทั้งๆที่ไม่หิว
- กินอาหารปริมาณมากๆ ในระยะเวลาสั้นๆ
- กินตามลำพัง เพราะรู้สึกอายกับประเภทของอาหาร ,ปริมาณ และวิธีกินของคุณ
คุณมีอาการแบบนี้มั้ย?
ส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว ว่าเขมือบไปมากกว่า 2,000 แคลอรี่ แล้วหลังจากนั้นก็จะลูบพุง แล้วก็เพิ่งจะมาคิดได้ว่าตัวเองกินเยอะไปแล้ว ทำไงดี ก็เลยหันไปกินยาระบาย หรือทำให้อาเจียร หรืออดอาหารในมื้อถัดๆไป แต่มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรในระยะยาวเลย กลับยิ่งทำให้น้ำหนักขึ้นเร็วกว่าเดิม ลองมองตัวเองดูว่าเป็นแบบนี้หรือไม่ กินอิ่มเกินแล้วเครียด วิตกจริต กังวล ถ้าคุณรู้สึกอยากสวาปามอาหารมากๆ ให้ใช้เทคนิคควบคุมพฤติกรรมคือ
“เปลี่ยนความเคยชิน”
หมายถึง เปลี่ยนความอยากกิน ไปทำอย่างอื่นแทน เช่น ทุกๆครั้งที่อยากยัดอาหารเข้าปาก ให้รีบเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นแทนทันที เช่นล้างห้องน้ำ ทำความสะอาดบ้าน จัดตู้เสื้อผ้า เล่นดนตรี หรือส่งข้อความหาที่ปรึกษา หรือโทรหาใครก็ได้ หรือไปวิ่ง ไปปั่นจักรยาน ไปเดินเล่น (ถ้าอยากผอม ก็อย่าไปเดินเล่น ในห้างหรือตลาดล่ะ) หรือเขียนบล็อค บรรยายพฤติกรรมแย่ๆ เรื่องการกินของตัวเอง ทำอะไรก็ได้ให้ลืมความอยากกิน ไม่ใช่ไม่รู้จะทำอะไรก็เปิดตู้เย็นหาอะไรกิน
กินเยอะแค่ 2 ครั้ง/สัปดาห์ เสี่ยงโรคจอมเขมือบ
คุณทราบหรือไม่ว่า เพียงแค่คุณสวาปามอาหารมากๆ สัปดาห์ละ 2 ครั้งขึ้นไปเท่านั้นถ้าทำติดต่อกัน 3 เดือน คุณอาจจะเป็นโรคจอมเขมือบไปเลย และไม่สามารถลดน้ำหนักได้ดังใจแน่นอน
.
ไอเดียจากหนังสือ ฟิตใจให้หุ่นสวย Think Thin Be Thin ผู้แต่ง ดอริส ไวลด์ เฮลเมอร์ริ่ง ,ไดแอน เฮลส์ , ผู้แปล บุญศรี ศรีรัตนบุญชัย