เมื่อลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้แล้ว
หลายคนมักกลับมามีพฤติกรรมแบบเดิมในทันที ราวกับว่าเพิ่งออกจากป่ายังงั้นแหละ
บางคนตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักแค่ 5 กิโลกรัม แต่ทั้งๆที่ตัวเองน้ำหนักเกิน10 กิโลกรัม
บางคนตั้งเป้าหมายลดน้ำหนัก 10 กิโลกรัม แต่ทั้งๆที่ตัวเองน้ำหนักเกินแค่ 5 กิโลกรัม
ตราบใดที่น้ำหนักยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่พอดี ก็ยังมีโอกาสที่จะน้ำหนักขึ้นได้ง่ายกว่า
และไม่ว่าคุณจะอยากลดน้ำหนักให้ต่ำกว่าเกณฑ์ส่วนตัวของคุณมากแค่ไหน
มันก็จะเพิ่มขึ้น ให้พอดีกับส่วนสูงอยู่ดี
.
การลดน้ำหนักเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยเมื่อเทียบกับการควบคุมน้ำหนัก
การควบคุมน้ำหนัก หรือเรียกว่า การรักษาน้ำหนักก็ได้ คุณต้องบรรจุลงในแผนการลดน้ำหนักด้วย
ทั้งระหว่างลดน้ำหนัก และหลังจากลดน้ำหนักสำเร็จแล้ว
การลดน้ำหนัก และรักษาน้ำหนักแบบยั่งยืน
.
ถ้าคุณไม่อยากให้น้ำหนักที่อุตส่าห์ลดลงไปได้ย้อนกลับมาอีกเรามีข้อแนะนำดังนี้
1. ลดน้ำหนัก ควบคู่กับการ ควบคุมน้ำหนัก
เช่น เมื่อคุณลดน้ำหนักได้ 5 ก.ก. ให้พยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่จุดนั้น
ไม่ต้องลดลงทุกๆเดือนก็ได้ แต่อย่าให้เพิ่มขึ้น รักษาน้ำหนักนั้นให้อยู่
ถ้าเป้าหมายน้ำหนักที่คุณต้องการคือเส้นชัย การตั้งใจลดน้ำหนักเปรียบเหมือนการวิ่งเร็วๆ
การควบคุมน้ำหนัก หรือ การรักษาน้ำหนัก เปรียบเหมือนการเดินเอื่อยๆ เพื่อพัก
การล้มเลิกการลดน้ำหนักในขณะที่ยังไม่ถึงเป้าหมาย เปรียบเหมือนวิ่งถอยหลัง
.
2. นึกถึงสิ่งที่ทำให้คุณอ้วน
ก่อนจะตัดสินใจลดน้ำหนัก อะไรทำให้คุณน้ำหนักเพิ่มได้ขนาดนั้น
ทำความรู้จักกับตัวเอง อุดจุดเสี่ยงที่จะทำให้กลับไปเป็นเหมือนเดิม ทิ้งนิสัยการกินแย่ๆไปซะ
ห้ามตัวเองให้ได้ ก่อนที่ความผิดพลาดเล็กๆน้อย จะทำให้คุณล้มเหลวอีกครั้ง
.
3. นึกถึงตอนก่อนที่จะเริ่มลดน้ำหนัก
คุณได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรไปแล้วบ้าง แล้วคุณอยากกลับไปเป็นแบบนั้นอีกหรือ
รักษาน้ำหนักและรูปร่างที่ได้มาระหว่างทางไว้ให้ได้ก่อน
แม้ว่าตอนนี้คุณยังไม่ได้ผอมเพรียว แต่ต้องมีอะไรที่ดีขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
วันใดที่คุณท้อ ให้คิดถึงวันที่คุณเริ่ม
.
4. พักการลดน้ำหนักไม่ใช่การกลับมากินเยอะ
บางช่วงที่เหนื่อย เบื่อ อดทนกับการลดน้ำหนัก คุณสามารถพักได้ แต่ไม่ใช่การเขมือบ
เช่น ปกติคุณตั้งใจเคร่งครัด 80% คุณก็แค่ลดความเคร่งลงบ้างเหลือ 50%
เป็นการพักผ่อน คลายความตึงเครียด แต่ต้องไม่ทิ้งการควบคุมน้ำหนักให้คงที่ได้ด้วย
แล้วก็อย่าลืมดึงตัวเองกลับมาลดน้ำหนักที่เหลือด้วยล่ะ อย่าพักนาน
.
5. อย่าลืมบันทึกลงในปฏิทิน
ไม่ต้องจดไดอารี่ หรืออธิบายว่าตัวเองกินอะไรไปบ้างในแต่ละวันก็ได้
อาจเขียนเป็นสัญลักษณ์ตัวโตๆ ที่ปฏิทินว่าวันนี้คุณให้คะแนนตัวเองเท่าไหร่
เช่น ให้เกรดตัวเอง A B+ B หรือ C เขียนลงไปบนปฏิทิน วิธีนี้เป็นการย้อนดูตัวเอง
วิธีลดน้ำหนัก ตอนที่2 ยอมรับความจริง
.
6. ลดน้ำหนักให้ได้มากกว่าที่ตั้งไว้ซัก2ก.ก.
เพราะการที่น้ำหนักจะขึ้นลงเช้า-เย็น 1-2กิโลกรัม เป็นเรื่องปกติ
แต่ต้องไม่ตั้งน้ำหนักให้น้อยจนเว่อร์ หรือมากกว่าเกณฑ์น้ำหนักปกติเกินไป
เช่น ถ้าคุณอยากลดให้เหลือ50ก.ก. ควรลดให้ได้ 48 ก.ก.ไปเลย
วิธีตั้งเป้าหมายลดน้ำหนักอย่างแฮ๊ปปี้
.
7. อย่าลืมถ่ายรูปเป็นหลักฐาน
ไม่ต้องรอให้ผอมมากๆถึงจะถ่ายรูปได้ ไม่ได้ให้ใครที่ไหนดู แต่ให้ตัวเราเองนี่แหละดู
เพราะเมื่อคุณลดความอ้วนลงได้ คุณแทบจะจำภาพตัวเองตอนอ้วนไม่ได้เลย
.
8. ลดน้ำหนักสำเร็จแล้ว ต้องควบคุมน้ำหนักต่อ
แม้ว่าคุณจะลดน้ำหนักได้ถึงเกณฑ์ปกติแล้ว ก็ห้ามทิ้งการควบคุมน้ำหนักต่ออีกซักระยะ
ระยะเวลาในการควบคุมน้ำหนัก หรือรักษาน้ำหนัก ควรเท่าๆกับระยะเวลาในการลดน้ำหนัก
เช่นถ้าคุณใช้เวลาลดน้ำหนัก 3 เดือน คุณก็ต้องให้เวลาในการควบคุมน้ำหนักอีก 3เดือนด้วย
เขียนโดย ezygodiet.com
หากคิดว่าบทความนี้พอมีประโยชน์บ้าง
อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ แสดงความคิดเห็น
แบ่งปันให้เพื่อนๆ มีสุขภาพดีๆ กันถ้วนหน้าด้วยนะค