ยาลดน้ำหนัก ยี่ห้อไหนดี
ก่อนถามเรื่องยี่ห้อ เรามาทำความรู้จักกับ ยาลดน้ำหนัก กันจริงๆจังๆก่อนดีมั้ย ว่าที่เราเรียกว่า ยาลดน้ำหนัก มันคืออะไรกันแน่
.
ยาลดน้ำหนัก มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่
เชื่อมั้ยว่า ยาลดน้ำหนัก เริ่มมีมาตั้งแต่ ศตวรรษที่2 แล้ว ถ้านึกไม่ออกก็ช่วง ปี ค.ศ.101-200 พูดง่ายๆก็คือ ยาลดน้ำหนัก มีมาตั้งแต่เมื่อเกือบสองพันปีแล้ว แอดมินล่ะทึ่งเลยว่า คนสมัยก่อนก็อ้วนกันด้วยหรอ
.
จุดเริ่มต้นก็คงหนีไม่พ้นชาวกรีก ต้นกำเนิดของวิทยาการต่างๆ โดยยาลดน้ำหนักที่ว่านี้ จะเป็นพวกออกฤทธิ์เป็นยาระบาย ส่วน การใช้ความร้อน และการออกกำลังกาย ก็ยังคงเป็นพื้นฐาน ที่คิดขึ้นมาได้เป็นพันๆปีแล้ว
.
ต่อมา ปีค.ศ.1920-1930 ได้เริ่มมียา DNP ซึ่งเป็นยาที่รักษาไทรอยด์ แต่นำมาใช้กับคนที่ไม่ได้เป็นไทรอยด์ จะช่วยผลิตความร้อน แต่อาการข้างเคียงคือ เราจะรู้สึกร้อนอยู่ตลอดเวลา แต่พอปีค.ศ. 1938 FDA ได้ประกาศยกเลิกสาร DNP นี้แล้วเพราะเป็นอันตราย
.
ต่อมาปลายปีค.ศ.1930 ก็เริ่มใช้ยาแอมเฟตามีน เพื่อการลดน้ำหนัก ซึ่งจะออกฤทธิ์กดความอยากอาหาร และต้องใช้ยาตัวอื่นๆเข้ามาร่วมกัน เพื่อลดอาการข้างเคียง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาหัวใจ ยาระบาย ยาลดความดัน
.
ยาลดน้ำหนักในยุดหลังๆ ตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 ขึ้นไป ก็จะเริ่มมีพวก ยาลดการดูดซึมไขมัน เช่น โอลิสสแตท(เซนิคาล) พอ FDA อนุญาติให้มีขายทั่วไปได้ไม่นาน ก็เริ่มพบอาการรุนแรงที่เป็นพิษกับตับ แต่ก็ยังไม่ได้ยกเลิกยานี้แค่เพิ่มข้อความคำเตือนในฉลากเฉยๆ
.
นอกจากนี้ยังมียาตัวอื่นๆออกมาเพิ่มไม่ขาดสายเช่น
โลคาเซริน ลดน้ำหนักได้ แต่ผลข้างเคียงคือ เกิดเนื้องอก
ไซบูทรามีน ทำให้เบื่ออาหาร แต่ผลข้างเคียงคือ ความดันสูงขึ้น ปากแห้ง ท้องผูก ปวดหัว นอนไม่หลับ
ไรโมนาแบนท์ ช่วยลดความอยากอาหาร เพิ่มความร้อน แม้ว่าจะไม่ค่อยมีผลข้างเคียงอะไรมาก แต่ก็ใช้ไม่ค่อยได้ผลนัก
เมทฟอร์มิน ช่วยลดกลูโคส และเพิ่มการเผาผลาญกลูโคส เป็นยารักษาโรคเบาหวาน
อีเซนาไทด์ ทำให้รู้สึกอิ่มนาน ใช้ในผู้ป่วยโรคอ้วนที่ขาดฮอร์โมนเกี่ยวกับความอิ่ม
แพรมลินไทด์ ทำให้รู้สึกอิ่มนาน มักใช้ผู้ป่วยเบาหวาน
.
ผลข้างเคียง จากยาลดน้ำหนักเริ่มตั้งแต่ ความดันสูงขึ้น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ นอนไม่หลับ รู้สึกหวาดผวา ติดยา ถ่ายเป็นน้ำมัน ปวดท้อง ท้องอืด ไปจนถึงอาการขั้นรุนแรง เช่น ลิ้นหัวใจรั่ว เส้นเลือดในสมองแตก หมดสติ และเสียชีวิตได้
.
ยาลดน้ำหนัก ที่จัดเป็นชุดขาย ประกอบด้วย
.
1. ยาขับปัสสาวะ ก็แค่เป็นการขับน้ำออกจากร่างกายเท่านั้น ไม่ได้ขับไขมันเลย และไม่มีผลต่อการลดแคลอรี่ด้วย น้ำหนักลดลงก็ไม่แปลก และน้ำหนักก็สามารถกลับมาได้ไม่ยาก เพราะเราต้องทานน้ำทุกวัน
ผลข้างเคียง ก็คือ สูญเสียเกลือแร่ ทำให้หัวใจ และสมองทำงานผิดปกติ อาจทำให้หัวใจวายได้
.
2. ยาธัยรอยด์ฮอร์โมน ปกติจะเป็นยารักษาคนเป็นโรคธัยรอยด์ต่ำ ซึ่งยาธัยรอยด์จะไปเพิ่มการเผาผลาญ
ผลข้างเคียง คือ ทำให้กล้ามเนื้อลดลง ไม่ใช่ไขมันลดลง จึงทำให้เกิดอาการใจสั่น และหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
.
3. ยาลดความอยากอาหาร จะเป็นยากลุ่มแอมเฟตามีน กลุ่มเดียวกับ ยาบ้า ที่จะไปกดประสาทให้ไม่รู้สึกหิว
ผลข้างเคียง ก็คือ นอนไม่หลับ ปวดหัว ความดันสูง หัวใจเต้นเร็ว ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้ ท้องผูก ตาพร่า หูแว่ว หากทานติดต่อกันนานๆก็จะติดยาได้
.
4. ยาถ่าย จะกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ขับถ่ายออกบ่อยและมาก ทำให้รู้สึกว่าน้ำหนักลดลง แต่ถ้าใช้บ่อยๆก็เกิดการดื้อยาได้ ต้องเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยๆถึงจะทำให้ถ่าย และอาจไม่สามารถถ่ายเองได้อีก
ผลข้างเคียง ก็คือ สูญเสียเกลือแร่และน้ำ อาการคล้ายๆกับยาขับปัสสาวะ
.
5. ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะ ยานี้ไม่ได้เกี่ยวกับการลดน้ำหนัก แต่ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงของยาลดความอยากอาหาร เพราะเมื่อไม่หิว ก็ไม่ทานอาหาร จึงต้องใช้ยาลดการหลั่งกรด ป้องกันโรคกระเพาะนั่นเอง
.
6. ยากลดใจสั่น ยานี้ก็ไม่ได้เกี่ยวกับการลดน้ำหนักเหมือนกัน แต่ใช้เพื่อลดผลข้างเคียงของยา ที่ทำให้ความดันสูง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
.
7. ยานอนหลับ ยานี้ยิ่งไม่เกี่ยวกับการลดน้ำหนักเลย แต่ใช้เพื่อลดผลข้างเคียง จากยากลดความอยากอาหาร ซึ่งจะทำให้นอนไม่หลับ โดยผลข้างเคียงก็คือ ทำให้กดการหายใจ และความดันต่ำลง
.
จะเห็นว่ายาลดน้ำหนัก มีผลต่อน้ำหนักอยู่ไม่กี่อย่าง ไม่สร้างความร้อน ก็กดความอยาก ขับน้ำ ขับถ่าย ซึ่งไม่ได้ทำให้ไขมันเก่าออกไปเลย
ส่วนยาอื่นๆก็แค่เป็นตัวลดผลข้างเคียงของอีกตัว ต้านกันไปต้านกันมา ก็ส่งผลต่อหลายระบบ จากที่เริ่มแค่อ้วน กลับกลายเป็นโรคอื่นๆตามมาอีก
.
แล้วทำไมถึงยังมียาพวกนี้อยู่
ก็เพราะยา มีไว้สำหรับบำบัดโรค ซึ่งก็มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยจริงๆ เช่น คนที่ฮอร์โมนผิดปกติ กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม หรือกินปกติแต่ไม่ยอมเผาผลาญ หรือมีอาการทางจิตควบคุมอาหารไม่ได้ หรือผู้ป่วยด้านอื่นๆ
.
แต่สำหรับคนปกติทั่วไป ควรลดน้ำหนักด้วยวิธีปกติ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย เปลี่ยนพฤติกรรม แต่ถึงแม้จะควบคุมอาหาร ออกกำลังกายจนผอมช่วงนึง แต่ถ้ากลับไปมีพฤติกรรมแบบเดิมอีก ก็หนีไม่พ้นความอ้วนอีกเหมือนเดิม
.
กลับมาที่คำถาม ยาลดน้ำหนัก ยี่ห้อไหนดี
ถ้าอ่านมาตั้งแต่ต้น แล้วยังคิดว่าต้องการกินยาลดน้ำหนักอยู่อีก ให้ไปโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือ ปรึกษาแพทย์ที่มีจรรยาบรรณ และมีความเชี่ยวชาญ จะดีที่สุดค่ะ
ส่วนอาหารเสริมไม่ใช่ยาลดน้ำหนักนะคะ อย่าเอาไปปนกัน แต่อาหารเสริมบางอันก็มียาลดน้ำหนักเจือปนเหมือนกัน เรื่องนี้ไว้พูดทีหลังแล้วกัน
.
ข้อมูลจาก