วิธีเลือกโปรไบโอติกส์

 

วิธีเลือกโปรไบโอติกส์

จากบทความที่แล้วเรื่อง โปรไบโอติกส์ ซึ่งทำให้เรารู้แล้วว่า โปรไบโอติกส์มันดีต่อสุขภาพยังไง จำเป็นแค่ไหน แถมยังช่วยลดน้ำหนักได้อีกด้วย แล้วเราจะหาเจ้าโปรไบโอติกส์นี้ได้จากที่ไหน จะมี วิธีเลือกโปรไบโอติกส์ อย่างไร

ที่เราคุ้นๆหูกัน ก็คืออยู่ในโยเกิร์ต และนมเปรี้ยว  แต่ก็ต้องมีวิธีการดูด้วยว่า มันมีโปรไบโอติกส์ที่ทำงานได้จริงๆหรือเปล่าด้วยนะ  เพราะไม่ใช่โยเกิร์ต หรือนมเปรี้ยวทุกชนิดจะมีโปรไบโอติกส์เสมอไป

.

1. ตู้แช่ต้องเย็น  ไม่ต้องถึงขั้นพกเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปวัดก็ได้ แค่ยื่นมือเข้าไป ถ้ารู้สึกว่าเย็นมาก ถือว่าใช้ได้  เพราะโปรไบโอติกส์จะชอบอากาสเย็นมากกว่า

หากเป็นสาวส่งนมเปรี้ยว แล้วไม่ได้มีตู้แช่ ก็ต้องเลือกที่ไม่ค้างไว้นอกตู้เย็นนานๆ  จับขวดดูแล้วยังเย็นอยู่

.

.

2. ดูฉลากข้างขวด  พลิกบริเวณข้างขวดจะมีระบุชื่อเชื้อจุลินทรีย์

เชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ถือว่าเป็นโปรไบโอติกส์ (พวกนี้จะเป็นเชื้อที่ใช้ทำนมเปรี้ยว/โยเกิร์ตธรรมดาเท่านั้น)

สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus)

แล็คโตบาซิลลัส เดลบรูคคิไอ ซับสปีชี่ส์ บัลการิคัส (Lactocacillus delbrueckii subsp. bulgaricus)

แล็คโตบาซิลลัส บัลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus)

.

เชื้อจุลินทรีย์ที่ถือว่าเป็นโปรไบโอติกส์

ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum)

ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010)

แล็คโตแบซิลลัส เคซิไอ (Lactobacillus casei)

แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus)

โดยผลิตภัณฑ์อาจใส่เชื้อมากกว่า 1 ชนิดก็ได้

.

.

3. เลือกให้เหมาะกับตัวเอง ด้วยการทดลอง 2-3 สัปดาห์

ถ้าเป็นคนที่ท้องผูก ให้เลือก ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส  เพราะเชื้อนี้ช่วยให้ขับถ่ายเร็วขึ้น  แต่ถ้าเป็นคนที่ถ่ายง่ายอยู่แล้ว ก็ต้องเลี่ยงเชื้อนี้

สำหรับคนที่ลำไส้ปกติไม่ได้ท้องผูกง่าย หรือถ่ายบ่อยมากนัก ก็ให้ลองกินตัวไหนก็ได้ซัก 2-3 สัปดาห์  โดยกิน เช้า และเย็น วันละ 1-2 ถ้วย ทุกวัน

.

ตอนแรกๆอาจรู้สึกท้องไส้ปั่นป่วน  เพราะแบคทีเรียเก่ากับใหม่ จะเริ่มมีการแก่งแย่งพื้นที่กันในลำไส้ของเรา  หลังจากผ่าน 2 สัปดาห์ไปแล้ว ให้สำรวจว่าสบายท้องขึ้นหรือไม่  ขับถ่ายดีขึ้นมั้ย  ถ้าใช่ก็กินตัวนี้ต่อไป  ไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา

.

การกินโปรไบโอติกส์ต้องกินสม่ำเสมอ ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ห้ามกินๆหยุดๆ  แต่ถ้ารู้สึกไม่สบายท้อง ก็ต้องหาเชื้ออื่น แล้วเริ่มทดลองอีก 2-3 สัปดาห์เหมือนเดิม จนกว่าจะเข้าที่

.

.

4. จำนวนเชื้อ

ถ้าสังเกตุฉลากข้างขวดจะเห็นเขียนว่า มีจำนวนเชื้อระบุไว้ เช่น 20,000 ล้านตัว  ให้ดูว่าถ้ามากกว่าหมื่นล้านตัวถือว่าใช้ได้  หรือมีอย่างน้อย 1010-1011 หรือยิ่งมากกว่านั้นยิ่งดี

เพราะโปรไบโอติกมันต้องเดินทางผ่านกรด อาจตายไปบ้างระหว่างทาง  กว่าจะฝ่าด่านจนมาตั้งรกรากที่ลำไส้ใหญ่ได้ ก็ต้องใช้จำนวนมากหน่อย

แต่ถ้าลองไปแล้วซัก2สัปดาห์ แล้วรู้สึกไม่ดี ก็ต้องหยุดไป  ให้จุลินทรีย์ตัวเก่าที่เคยอยู่เริ่มกลับมา

.

ข้อมูลจาก pharmacy.mahidol.ac.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.