บางครั้งความหิวทำให้คนอารมณ์เปลี่ยนไป แต่ความอิ่มก็ทำให้รูปร่างเปลี่ยนแปลงได้
สำหรับคนอ้วน น้ำหนักเกิน ถ้าอยากลดน้ำหนักให้สำเร็จ
ต้องฝึกคุยกับตัวเอง สัมผัสใจของตัวเอง รู้ระดับความหิว–ความอิ่มของตัวเอง
คนที่อยากลดความอ้วน ไม่ควรอดจนรู้สึกหิวโหยมาก
และก็ไม่ควรกินจนอิ่มแน่นท้อง เรื่องแบบนี้ต้องมีการฝึกให้ติดเป็นนิสัย
ยังไม่ต้องเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด แต่ให้ค่อยๆเปลี่ยน
เมื่อเปลี่ยนแล้ว ก็พยายามอย่ากลับไปเป็นเหมือนเดิมอีก
.
ระดับความหิว-ความอิ่ม
1. หิวแบบอดอยาก
รู้สึกหิวมากๆจนท้องร้อง มีอาการอ่อนเพลีย หมดแรง หน้ามืด
สามารถกินได้ทุกอย่างที่ขวางหน้า ไม่สนเรื่องความอร่อยเลย
.
2. หิวแบบโหย
รู้สึกหิวแสบท้องนิดๆ ไม่ค่อยมีสมาธิจดจ่อกับอะไรเลย จะคิดถึงแต่อาหาร
ถ้าได้กินอะไรก็จะรู้สึกอร่อยไปหมด
.
3. หิวนิดๆ
รู้สึกเริ่มหิว แต่ไม่มีอาการอะไร แต่ทำให้ไม่สบายท้อง รู้สึกท้องโล่งๆ
.
4. หิวแบบอยาก
แค่รู้สึกอยากกิน แต่ไม่ถึงขั้นหิว ยังพอทนไหว กินก็ได้ไม่กินก็ได้
.
5. เฉยๆ
ไม่รู้สึกหิว แต่ก็ไม่รู้สึกอิ่ม ถ้ากินอะไรซักอย่างตอนนี้ ก็จะแยกแยะได้ว่าอร่อยหรือไม่อร่อย
.
6. หายหิว – หายอยาก – เริ่มอิ่ม – แต่ยังไม่อิ่ม
เริ่มรู้สึกมีอาหารอยู่ในท้อง ได้พลังงานพอที่จะทำให้ทำงานได้ปกติแล้ว
รู้สึกสบายท้อง ไม่อึดอัด ไม่แน่น ไม่อิ่มมาก แต่ก็ไม่รู้สึกหิวเลย
.
7. อิ่ม
รู้สึกอิ่ม ไม่แน่นท้อง ไม่อึดอัดท้อง แต่รู้สึกท้องเต็มไปด้วยอาหาร
ควรจะหยุดกินได้แล้ว แต่ถ้าอาหารอร่อยก็ยังกินต่อได้อีก
.
8. อิ่มจนแน่นท้อง
รู้สึกอิ่มมาก แน่นท้อง อึดอัดจนท้องคลายเข็มขัด ปลดตะขอ เริ่มลุกไม่ไหว
ถ้ายังกินอยู่ก็เริ่มแทะ แกะ เล็ม อาหารที่เหลือ เริ่มออกอาการไม่สบายท้อง
อยากเรอ เพื่อระบายแก๊สในกระเพาะ
.
9. อิ่มจนอืด
รู้สึกอิ่มมากที่สุด ไม่สบายท้องมากๆ รู้สึกท้องอืด แน่นท้องมาก
แม้ว่าจะคลายความแน่นของเสื้อผ้าแล้ว ก็ยังไม่ได้บรรเทา ท้องป่องเหมือนคนท้อง 3เดือน
.
10. อิ่มแทบจะอาเจียน
รู้สึกเหมือนอาหารมาจุกที่คอ ล้นกระเพาะ ผะอืดผะอม ไม่รับรู้รส
ไม่สามารถกินอะไรได้อีก ถ้ายังฝืนกินอยู่อาจจะอาเจียรออกมาได้
.
การกินโดยไม่ทำลายสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก
ควรกินแค่ให้อยู่ในระดับ 5 – 6 ก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องกินให้อิ่ม
กินแค่ให้พอรู้สึกหายหิว ถ้าอีก3-4ชม.หิวอีกก็ค่อยกินอีกได้
รับรองได้ว่า สุขภาพจะดีขึ้น คนที่กำลังลดน้ำหนักก็ประสบความสำเร็จง่ายด้วย
.
เขียนโดย ezygodiet.com